งานนิติการ

งานนิติการ สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

icon_widget_image เลขที่ 1 หมู่ 20 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 13180 icon_widget_image 02 909 1429 หมายเลขภายใน 387 legal@vru.ac.th

กรณีการดำเนินการของสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

  /  บทความ   /  กรณีการดำเนินการของสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

กรณีการดำเนินการของสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

เรื่องเสร็จที่ ๕๒๕/๒๕๖๓ กรณีการดำเนินการของสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กรณีกระทรวงการคลังมีความเห็นเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ แตกต่างจากหน่วยงาน และคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลความผิดทางวินัยและ ทางอาญาเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงการคลัง ไม่มีความเห็นให้รับผิดทางละเมิด ประเด็นที่หนึ่ง กรณีสำนักงาน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์มีคำสั่งเรียกให้นาง ป. และนางสาว พ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จำนวนคนละ ๑๗๑, ๐๐๐ บาท แต่กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง มีความเห็นให้นาง ป. ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนจำนวน ๖๘,๔๐๐ บาท และ มิได้ให้นางสาว พ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด และศาลปกครองกลางได้มี คำพิพากษาว่า คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่เรียกให้นาง ป. และนางสาว พ. ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โดยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง หรือไม่ อย่างไร

 

ความเห็น สำนักงานปลัดกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ตามข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่กำหนดให้ เมื่อกระทรวงการคลังพิจารณาเสร็จแล้ว ให้ผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิดมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลังและแจ้งคำสั่งนั้นให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยในส่วนของนาง ป. สำนักงานปลัดกระทรวงฯ ต้องเพิกถอนคำสั่งเดิม บางส่วนและกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ส่วนกรณีนางสาว พ. สำนักงานปลัดกระทรวงฯ
ต้องเพิกถอนคำสั่งเดิมทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลังที่ไม่ได้ให้นางสาว พ.
ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งการมีคำสั่งกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนใหม่รายนาง ป.
สามารถกระทำได้แม้ว่า ศาลปกครองกลางจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรายนาง ป. แล้ว ก็ตาม เนื่องจากมาตรา ๗๐ วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๙ กำหนดให้รอการปฏิบัติตามคำบังคับของคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นไว้ จนกว่าจะพ้นระยะเวลาการอุทธรณ์หรือจนกว่า คดีจะถึงที่สุดถ้ามีการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และโดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คดีนี้มีการอุทธรณ์และอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด สำนักงานปลัดกระทรวงฯ จึงต้องแจ้งคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเรียกให้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเดิมบางส่วนหรือทั้งหมด แล้วแต่กรณี ให้ศาลปกครองสูงสุดทราบ เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไปด้วย

 

ประเด็นที่สอง กรณีที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (คณะกรรมการ ป.ป.ท.) มีความเห็นว่า นาง พ. ได้เบียดบังเงินไปเป็นประโยชน์ของตนโดยทุจริต และมีมติชี้มูลความผิดทางอาญาและทางวินัย นาง พ. แต่กระทรวงการคลังมิได้มีความเห็นว่า นาง พ. เป็นผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จะมีคำสั่งให้นาง พ. รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน ความเสียหายได้หรือไม่ และจะส่งผลต่อ เจ้าหน้าที่อื่นที่กระทรวงการให้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างไร

 

ความเห็น การพิจารณาไต่สวนของ คณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามพระราชบัญญัติ มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นการสอบ ข้อเท็จจริงเพื่อชี้มูลความผิดทางวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัย แก่ผู้ถูกกล่าวหา และเพื่อชี้มูลความผิดทางอาญา ๑-๖ ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแก่ผู้ถูกกล่าวหา โดยมิได้มีบทบัญญัติให้มติของคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีผลต่อการสอบสวนเกี่ยวกับความรับผิด ทางละเมิดของผู้ถูกกล่าวหา ด้วยเหตุนี้ มติชี้มูลความผิดทางวินัย และทางอาญา ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. จึงไม่มีผลผูกพันการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่
แม้คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะมีมติ ชี้มูลว่าการกระทำของนาง พ. เป็นการกระทำ ความผิดทางอาญาและทางวินัย แต่สำนักงาน ปลัดกระทรวงฯ ก็ไม่สามารถนำมติของ คณะกรรมการ ป.ป.ท. มาใช้เป็นฐานในการออก คำสั่งให้นาง พ. รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เต็มจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

 

อย่างไรก็ดี การที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่า นาง พ. ได้กระทำความผิดทางอาญา ตามมาตรา ๑๕๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องมีเจตนากระทำ โดยผิดกฎหมายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่สำนักงานปลัดกระทรวงฯ ที่อาจเป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ด้วย ดังนั้นหากสำนักงานปลัดกระทรวงฯ พิจารณาข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ในรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ท. แล้ว มีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของนาง พ. สำนักงานปลัดกระทรวงฯ ก็ชอบที่จะดำเนินการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ให้ได้ความว่า นาง พ. เป็นผู้กระทำละเมิดหรือไม่ และจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ทางราชการเป็นเงินจำนวนเท่าใด
และส่งสำนวนการสอบข้อเท็จจริงไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาต่อไปโดยเมื่อกระทรวงการคลัง
มีความเห็นเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของนาง พ. รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่นเป็นประการใดแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงฯ ก็ต้องมีคำสั่ง ตามความเห็นของกระทรวงการคลังตามที่กำหนด ในข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ

 

อนึ่ง การดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไป โดยไม่ชักช้า เพราะหากปรากฏว่านาง พ. จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การใช้สิทธิ เรียกร้องต่อนาง พ. จะต้องกระทำภายในอายุความ ตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้ า ที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ คือ ภายในสองปีนับแต่วันที่ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ ได้รับแจ้งมติของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ที่ชี้มูลความผิดทางอาญาและทางวินัยนาง พ. อันเป็นวันที่ถือได้ว่า ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

Post a Comment